ตุ๊กตา #ไดโนเสาร์พวงกุญแจผ้าขาวม้า


ตุ๊กตา #พวงกุญแจไดโนเสาร์ผ้าขาวม้า  ขนาด 11 x 7 ซม. ขายปลีก-ส่ง  บริการจัดส่งทั่วประเทศ-ต่างประเทศ    



ตู๊กตา #ไดโนเสาร์พวงกุญแจผ้าขาวม้า  จำลองแบบให้เป็นการ์ตูนไดโนเสาร์น่ารัก  โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก  ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่น คือ  ไดโนเสาร์  พันธุ์ : ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ 


( Phuwiangosaurus sirindhornae  , Martin,Buffetaut and Suteethorn,1994 )


มีประวัติการพบใน จ. ขอนแก่น คร่าว ๆ ดังนี้ 


การค้นหาซากดึกดำบรรพ์สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส แต่ความร่วมมืออย่างเป็นทางการผ่านกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส เริ่มในปี พ.ศ. 2531 โดยเน้นหนักทางด้านซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพ ฯ กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส และCentre National de la Recherche Scientifique (Paris)
                 ในปี พ.ศ. 2519 นายสุธรรม แย้มนิยม จากโครงการสำรวจแร่ยูเรเนี่ยม ได้ค้นพบกระดูกขนาดใหญ่ท่อนหนึ่ง ที่ อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น ซึ่งได้รับความสนใจจากนักโบราณชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส จึงได้ทำการตรวจสอบวิจัยในเวลาต่อมา แต่ผลของการวิจัยไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นไดโนเสาร์สกุลใด เพียงแต่บอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด พวกกินพืช เดิน 4 เท้า คอยาว หางยาว โดยไดโนเสาร์นี้มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และจากการสำรวจของคณะสำรวจไดโนเสาร์ ไทย – ฝรั่งเศส ได้ขุดพบกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอดอีกหลายแห่งและมีจำนวนมากพอที่จะทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด คณะสำรวจ ฯ จึงได้ทำการคัดเลือกนักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยปารีสมาทำการวิจัยในหัวข้อเรื่อง “ ไดโนเสาร์ซอโรพอด ยุคครีเตเชียสตอนต้น ของประเทศไทย ” โดยมี ดร. อิริค บุพโต และ นายวราวุธ สุธีธร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รายงานการวิจัยสำเร็จและได้นำเสนอเมื่อ เดือน พ.ย. 2537 พบว่าซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซอโรพอดที่ขุดพบในประเทศไทยเป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่ จึงได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธย เป็นชื่อไดโนเสาร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไม่ทรงขัดข้อง ฉะนั้นไดโนเสาร์นี้จึงมีชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่,Phuwiangosaurus sirindhornae  , Martin, Bbuffetaut and Suteethorn,1994  รายงานการวิจัยฉบับนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส COMPTESRENDUS DE L A CADEMIE DES SCIENCES, T.319, serie II, sohk 1085 – 1092 เมื่อปี ค.ศ. 1994

อ้างอิง
ข่าวห้องสมุดกทธ. 14,3 – 4 ( ก.ค. – ธ.ค. 39 )23 – 46 ; 17 – 42

( เครดิต ข้อมูล : หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น